ประกาศ / บทความ

64 สัญลักษณ์บนหน้าปัดรถยนต์ รู้ไว้ ปลอดภัยชัวร์

  1. ไฟตัดหมอกด้านหน้า : ช่วยปรับทัศนวิสัยการขับขี่ให้ดียิ่งขึ้น เปิดตอนมีหมอกควันเยอะ หรือฝนตกหนักก็ได้
  2. ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ (มีการทำงานผิดพลาด) : เกิดความผิดปกติของระบบพวงมาลัย ทำให้บังคับทิศทางลำบาก 
  3. ไฟตัดหมอกด้านหลัง : ใช้ตัดหมอกด้านหลัง ต้องระวังรถคันหลังที่ขับตามมาด้วย 
  4. ระดับน้ำล้างกระจกอยู่ในระดับต่ำ : ควรเติมน้ำผสมกับน้ำยาทำความสะอาดกระจกลงไปเล็กน้อย จะช่วยทำความสะอาดได้ดีกว่าน้ำสะอาด
  5. ผ้าเบรกมีปัญหา : อาจจะมีเสียงดังระหว่างเบรก ควรรีบตรวจสอบ
  6. ระบบควบคุมความเร็วให้คงที่ : ช่วยคุมความเร็วให้อยู่ในระดับคงที่ ผู้ขับขี่ต้องเป็นคนตั้งค่าเอง ส่วนมากจะมีในรถยนต์รุ่นใหม่
  7. สัญญาณไฟเลี้ยว ซ้าย-ขวา : อันนี้สำคัญมาก อย่าลืมเปิดทุกครั้งก่อนเลี้ยวนะคะ 
  8. ระบบตรวจจับน้ำฝน และแสงมีปัญหา : มีผลต่อระบบการทำงานของที่ตรวจจับน้ำฝน
  9. ระบบความเย็น : อาจจะเกิดจากน้ำยาแอร์รั่ว หรือระบบแอร์ภายในมีปัญหา ส่งผลให้แอร์ไม่เย็น 
  10. แสดงผลข้อมูลทั่วไป : ข้อมูลของรถ วันเวลา ระยะรถ
  11. แจ้งเตือนความร้อนระบบเครื่องยนต์ดีเซล : เครื่องยนต์มีความร้อน ให้ดับเครื่องหรือพักให้เครื่องเย็นลง 
  12. มีหิมะที่พื้นผิวถนน : ต้องขับโดยระมัดระวัง ไม่ค่อยพบในไทย 
  13. แจ้งเตือนสวิตช์สตาร์ทเกิดการผิดพลาด : ส่วนมากจะเกิดในรถรุ่นใหม่ ที่ต้องใช้สวิตซ์ในการสตาร์ทเครื่อง
  14. แจ้งเตือนกุญแจไม่ได้อยู่ในรถ : รถจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องได้ หากไม่มีกุญแจอยู่ในรถ พบในรถรุ่นใหม่ 
  15. แบตเตอรีของกุญแจมีพลังงานต่ำ : เตือนให้รีบเปลี่ยนแบตเตอรีของกุญแจรถ
  16. แจ้งเตือนระยะห่างของรถคันหน้า :  รถของเราใกล้คันหน้ามากเกินไป ควรมีระยะห่างไม่ต่ำกว่า 60 เมตร เพื่อความปลอดภัย
  1. แรงดันน้ำมันคลัตช์ : หากแรงดันตก จะส่งผลกับระบบเบรก ต้องรีบตรวจเช็ก 
  2. แรงดันน้ำมันเบรก : มีผลต่อระบบเบรก รีบตรวจเช็ก
  3. แจ้งเตือนพวงมาลัยล็อก : แก้ไขได้โดยการเสียบกุญแจเข้าไปใหม่ และขยับพวงมาลัยเล็กน้อย  
  4. เปิดไฟสูง : เพิ่มทัศนวิสัยในขับขี่ตอนกลางคืน ควรขับขี่ให้ห่างจากคันหน้า 
  5. แจ้งเตือนความดันลมยางอ่อน : รีบเติมลมยาง 
  6. ไฟด้านข้างถูกใช้งาน : ไฟด้านข้างหรือด้านในห้องโดยสาร กำลังใช้งานอยู่ 
  7. สัญญาณไฟภายนอกปัญหา : ระบบไฟด้านนอกมีปัญหา อาจจะเกิดจากไฟเลี้ยวไม่ติด 
  8. สัญญาณไฟเบรกมีปัญหา :  มีการกระพริบผิดปกติ หรือไม่กระพริบเลย ควรตรวจสอบและรีบเปลี่ยน
  9. แจ้งเตือนตัวกรองน้ำมันของเครื่องยนต์ดีเซลมีปัญหา : เกิดปัญหาที่กรองน้ำมันเครื่อง รีบตรวจเช็ก 
  10. เตือนการเชื่อมต่อของสายพ่วง : มีการเชื่อมต่อของระบบสายพ่วงแบตเตอรี 
  11. เตือนระบบการป้องกันการสะเทือนมีปัญหา : ส่งผลต่อการขับขี่บนทางไม่เรียบ 
  12. รักษาระยะห่างการใช้ทางจราจร : เซนเซอร์รถจะทำงาน ถ้าขับขี่ใกล้ผิวถนนมากเกินไป 
  13. เตือนการบำบัดไอเสียผิดปกติ : ท่อไอเสียทำงานผิดปกติ รีบตรวจเช็ก 
  14. เตือนเข็มขัดนิรภัย : รัดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัยค่ะ 
  15. ระบบเบรกระหว่างจอดรถเพื่อป้องกันไม่ให้รถไหล : จะทำงานเมื่อขึ้นทางลาด 
  16. แจ้งเตือนพลังงานของแบตเตอรี : แบตเตอรีอาจจะใกล้หมด ควรตรวจเช็กและรีบเปลี่ยน
  1. ระบบจอดรถอัตโนมัติ : ช่วยจอดรถให้เอง พบในระบบรุ่นใหม่ 
  2. ระบบแจ้งเตือนตรวจเช็กสภาพรถ : เครื่องยนต์มีปัญหา ควรรีบตรวจเช็ก
  3. ระบบปรับแสงไฟหน้าอัตโนมัติ : ปรับไฟสูง-ต่ำ อัตโนมัติ
  4. ปรับระดับไฟหน้ารถ : ปรับไฟสูง-ต่ำด้วยตัวเอง
  5. แจ้งเตือนสปอยเลอร์ด้านหลังมีปัญหา : สปอยเลอร์อาจจะได้รับความเสียหาย
  6. ระบบเปิดหลังคาอัตโนมัติ : พบในรถ Supercar หรือรถที่เปิดหลังคาได้
  7. ระบบเตือนถุงลมนิรภัย : เตือนระบบถุงลมมีปัญหา รีบตัวเช็ก
  8. แจ้งเตือนเบรกมือ : เบรกมือค้าง ควรรีบปลดเบรกมือออก หากปล่อยทิ้งจะทำให้เกิดปัญหาตามมา
  9. มีน้ำเข้ามาเจือปนในน้ำมันเชื้อเพลิง (รีบแก้ไขโดยด่วน) : อันตรายมาก รีบตรวจเช็ก
  10. ปิดการทำงานของถุงลมนิรภัย : ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน
  11. ควรตรวจสภาพรถ : ระบบภายใน หรือเครื่องยนต์อาจจะมีปัญหา ต้องรีบตรวจเช็ก
  12. เปิดไฟขอทาง : หรือไฟฉุกเฉิน ควบคุมได้ด้วยตัวเอง
  13. กรองอากาศสกปรก : ส่งผลกับอากาศภายใน
  14. โหมดประหยัดพลังงาน : ช่วยประหยัดน้ำมัน ประสานการทำงานของระบบรถ ให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
  15. ระบบควบคุมรถขณะลงเขา : ช่วยให้รถวิ่งบนเนินด้วยความเร็วคงที่ ให้คนขับมีสมาธิบังคับทิศทางรถได้มากขึ้น
  16. ระบบเตือนความร้อนของหม้อน้ำ : อันนี้สำคัญมากค่ะ หากขึ้นเตือนให้รีบจอดพักทันที รอให้รถหายร้อน และรีบแก้ไข
  1. ระบบเบรก ABS : ระบบเบรกป้องกันล้อล็อกกะทันหัน เมื่อประสบอุบัติเหตุ
  2. ตัวกรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน : มีผลทำให้รถสตาร์ทติดยาก อืด และเร่งไม่ขึ้น
  3. ประตูรถเปิดอยู่ : เตือนเมื่อเปิดประตูรถทิ้งไว้ 
  4. ฝากระโปรงหน้าเปิดอยู่ : เตือนเมื่อฝากระโปรงหน้าเปิดทิ้งไว้
  5. น้ำมันเชื้อเพลิงเหลือน้อย : น้ำมันใกล้หมด รีบเติมค่า 
  6. เตือนระบบเกียร์อัตโนมัติ : ระบบเกียร์อัตโนมัติมีปัญหา ส่วนใหญ่มักจะขึ้นเตือนเมื่อน้ำมันเกียร์มีอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ
  7. จำกัดความเร็วทำงาน : เตือนเมื่อความเร็วมากเกินกำหนด 
  8. ระบบกันสะเทือนผิดปกติ : ช่วงล่างผิดปกติ ต้องรีบตรวจเช็ก
  9. แจ้งเตือนความดันน้ำมันเครื่องต่ำ : รีบตรวจเช็กด่วน อาจจะเกิดความเสียหายภายหลังได้ 
  10. ระบบไล่ฝ้าที่กระจกทำงาน : สามารถควบคุมได้เอง 
  11. กระโปรงท้ายรถเปิดใช้งานอยู่ : เตือนเมื่อกระโปรงท้ายรถเปิดอยู่ 
  12. ระบบควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ : หรือระบบ ESC ช่วยในการควบคุมการทรงตัว ป้องกันรถลื่นไถล
  13. เซ็นเซอร์ระบบน้ำฝนถูกใช้งาน : กำลังใช้งานที่ปัดน้ำฝนอยู่
  14. แจ้งเตือนเครื่องยนต์ขัดข้อง : ระบบภายในเครื่องยนต์มีปัญหา ต้องรีบตรวจสอบ 
  15. ระบบไล่ฝ้ากระจกด้านหลัง : ควบคุมได้ด้วยผู้ขับขี่ 
  16. ที่ปัดน้ำฝนทำงานอัตโนมัติ : ทำงานอัตโนมัติ เมื่อฝนตก

Ref. https://www.wongnai.com/articles/car-signals-meaning?ref=ct

3 ข้อต้องรู้ คนอยู่หอพักซื้อประกันรถยนต์ยังไงให้คุ้ม

ไม่ว่าคุณจะเพิ่งซื้อรถใหม่ หรือกำลังเตรียมจะต่อประกันรถยนต์ รู้หรือไม่? ประกันรถในปัจจุบันมีให้เลือกได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น และมีส่วนลดโปรโมชั่น…

3 ข้อต้องรู้ คนอยู่หอพักซื้อประกันรถยนต์ยังไงให้คุ้ม

น้ำมันรถแบบไหนที่เหมาะกับรถคุณ

บางคนก็เลือกใช้ตามคำแนะนำของเพื่อน ของญาติพี่น้อง หรือไม่ก็คำแนะนำของศูนย์ วันนี้เราเลยจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างของน้ำมันแต่ละชนิดให้ได้ทราบกันค่ะ ทุกคนจะได้รู้ว่าน้ำมันที่ใช้อยู่ทุกวันนี้เหมาะกับรถของเราหรือเปล่า?

  • น้ำมันแก็สโซฮอลล์ E20 หรือเบนซิน E20 มีส่วนผสมของน้ำมัน 80 % และเอทิลแอลกอฮอล์ 20 % แต่ไม่ใช่รถทุกคันจะสามารถเติมน้ำมันชนิดนี้ได้นะคะ เพราะจะต้องเป็นรถที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในคู่มือหรือที่ฝาถังน้ำมันว่าสามารถใช้น้ำมัน E20 ได้เท่านั้น และต้องเป็นรถที่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์บางส่วน และปรับอัตราส่วนผสมให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ถ้าไม่ใช่รถที่ระบุว่าใช้น้ำมันชนิดนี้ได้ ห้ามเติมเด็ดขาด! เพราะจะส่งผลให้รถสตาร์ทติดยาก เร่งเครื่องไม่ขึ้น เครื่องสะดุด ส่วนรถที่มีการจอดทิ้งเอาไว้นานๆ เกินกว่า 1 เดือนขึ้นไปก็ไม่เหมาะที่จะเติมน้ำมันตัวนี้ เพราะจะทำให้เกิดการระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิง และมีโอกาสที่น้ำมันจะเสียค่ะ

  • น้ำมันแก็สโซฮอลล์ E85 คือน้ำมันที่มีส่วนผสมของน้ำมัน 15 % และอีก 85 % เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ รถที่เหมาะจะใช้น้ำมันชนิดนี้ ต้องมีการระบุจากผู้ผลิตรถยนต์ว่าสามารถใช้น้ำมันชนิดนี้ได้ หากรถระบุว่าใช้ไม่ได้ แต่ยังฝืนใช้แล้วล่ะก็ เตรียมใจไว้เลยว่ารถอาจจะเร่งเครื่องไม่ขึ้น สตาร์ทยาก ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือถ้าไม่ค่อยได้ใช้รถขับไปไหนมาไหน เน้นจอดทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ควรเติมน้ำมัน E20 กับ E85 ค่ะ เพราะน้ำมัน 2 ชนิดนี้มีการระเหยเร็วกว่าน้ำมันประเภทอื่นๆ

  • น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน 10 % เพื่อทดแทนสาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) จึงได้ออกมาเป็นน้ำมันชนิดนี้ โดยคุณสมบัติในการใช้งานกับเครื่องยนต์ เหมือนกับน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ไม่เหมาะกับรถที่จอดทิ้งเอาไว้มากกว่า 1 เดือน เพราะจะเกิดการระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิง และมีโอกาสที่น้ำมันจะเสียได้ค่ะ

  • น้ำมันโซฮอลล์ 91 มีส่วนผสมระหว่างเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ มีความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซิน 91 ในอัตราส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน สามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 91 ธรรมดา, น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันโซฮอลล์ 95 ได้ตามปกติ โดยที่รถไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใดๆ แต่ถ้ารถที่ไม่ได้ระบุว่าใช้ได้ ก็ไม่ควรใช้ค่ะ เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อรถของคุณได้นะคะ

  • น้ำมันเบนซิน 95 น้ำมันชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ เพราะเป็นน้ำมันที่ไม่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ และมีออกเทนที่ให้ค่าสูง ทำให้มีการเผาไหม้ที่ดีและสมบูรณ์ ทำให้กำลังของการจุดระเบิดสูง รถที่ใช้น้ำมันเบนซินทุกคันสามารถเติมน้ำมันชนิดนี้ได้เลยค่ะ

  • น้ำมันเบนซิน 91 เป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมค่าออกเทน 91 % ใช้ได้กับรถทุกคัน เว้นแต่รถที่ระบุไว้ว่า “เติมน้ำมันชนิด เบนซินออกเทน 95 เท่านั้น” เพราะหากเผลอเติม เบนซิน 91 ลงไป รถยังสามารถขับได้ค่ะ แต่อาจจะมีอาการสะดุด เครื่องเดินเบาไม่เรียบ

Ref. https://erdi.cmu.ac.th/?p=3001

10 สิ่งเกี่ยวกับรถที่ควรเช็คให้เป็นนิสัย

1. สัญญาณเตือนหน้าปัดทุกครั้งมีความหมาย
     สังเกตไหมว่า ทุกครั้งที่เราสตาร์ทรถจะมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบเครื่องยนต์ เข็มขัดนิรภัย น้ำมันเครื่อง ระดับความร้อน และระดับน้ำมัน ซึ่งแต่ละสัญลักษณ์ก็มีสีที่แตกต่าง คือ สีเขียวแปลว่าใช้งานได้ปกติ, สีเหลืองเป็นการเตือนแต่ยังสามารถใช้ได้อยู่ สีแดงบอกถึงอันตรายให้หยุดใช้รถและรีบตรวจสอบความผิดปกติ 
     ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องพื้นฐานก็จริง แต่ก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่บางคนมองข้าม และรู้ตัวเอาอีกทีก็ตอนที่เกิดความเสียหายแล้ว

 

2. ไฟส่องสว่างคือความปลอดภัยทั้งของเราและคนอื่น
     ไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณต่างๆ คือสิ่งที่เราใช้ทุกครั้งเวลาขับรถ แต่เรามักจะละเลยว่าไฟเหล่านี้อยู่ในสภาพใช้งานได้ 100 เปอร์เซ็นต์หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟหลัง ไฟเลี้ยว หรือไฟเบรก การสึกหรอของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของอุบัติเหตุบนท้องถนน และอุบัติเหตุก็เป็นตัวการที่ทำให้อายุการใช้งานของรถสั้นกว่าที่ควรจะเป็นด้วย

3. รถเราก็ต้องการน้ำเหมือนกัน
     ไม่ใช่แค่ร่างกายมนุษย์เท่านั้นที่ต้องการน้ำ แต่รถเองก็เช่นกัน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค น้ำกลั่น น้ำหล่อเย็น เป็นต้น เราต้องหมั่นตรวจเช็คน้ำเหล่านี้ให้เป็นนิสัย เพราะทุกน้ำมีความสำคัญและส่งผลถึงทุกการทำงานของรถที่คุณรัก เสียเวลาตรวจเช็คไม่มากแต่ดีกว่าต้องมาเสียเงินซ่อมรถที่หลังนะ

4. ถ้าแอร์ไม่เย็นจะเป็นเรื่อง
     นึกถึงสภาพอากาศในปัจจุบันที่แสงแดดแผดเผากันทุกฤดูขนาดนี้ ถ้าวันใดที่แอร์ของรถเสียขึ้นมาคงไม่สนุกแน่ๆ เพราะฉะนั้นควรระวังอย่าให้น้ำยาแอร์หมด เพราะนอกจากจะทำให้อากาศร้อนแล้ว ยังส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้นและสุดท้ายก็อาจพังก่อนเวลาอันควร

5. กระจกเบลอหรือเธอไม่ชัด
      อีกสิ่งที่สำคัญคือกระจกในทุกตำแหน่ง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิสัยทัศน์ในการขับขี่ อย่าลืมรักษากระจกให้สะอาด เช็คให้ถูกตำแหน่งกับสายตาเรา เรื่องกระจกนี้ยังรวมไปถึงการตรวจเช็คที่ปัดน้ำฝนให้มั่นใจว่ายังไม่เสื่อมสภาพด้วย

6. ตรวจเช็คลมยางให้เป็นกิจกรรมประจำเดือน
     เพราะรถมีหลายรุ่น ยางรถมีหลายขนาดและใช้ลมยางที่แตกต่างกันไป สิ่งที่เราควรทำคือ ตรวจเช็คลมยางเป็นประจำ นอกจากนี้ ควรเช็คดอกยางด้วยว่าหายไปหมดหรือยัง หรือกำหนดไปเลยก็ได้ว่าถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ ต้องเปลี่ยนทุกๆ 2 ปี

7. เลขไมล์บอกอายุรถ
     นอกจากจะนับว่าเราซื้อมาปีไหนแล้ว ต้องดูที่อายุการใช้งานของรถด้วยว่าเราใช้ไปกี่กิโลเมตร เพื่อที่เราจะนำรถไปตรวจสภาพได้ถูกต้อง ตรงตามกำหนด เป็นการยืดอายุการใช้งานของรถและลดรายจ่ายค่าซ่อมรถได้อีกทางหนึ่ง ที่สำคัญ ถ้ามีแผนจะขายรถต่อ อย่าลืมว่าราคาของรถมือสองส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานนี่ล่ะ

8. ใครขับ คนนั้นเช็ค
     ต่อให้คุณมีคนทำงานบ้านที่ดูแลรถให้ แต่เมื่อคนที่ขับรถคือคุณ เพราะฉะนั้นก่อนใช้และระหว่างใช้รถแต่ละครั้งให้สังเกตสภาพรถด้วยว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า รวมถึงประเมินสภาพตัวเองด้วยว่าอยู่ในสภาพพร้อมขับรถหรือไม่

9. ราคาน้ำมันต้องติดตาม
     ราคาน้ำมันมีผลต่อชีวิตประจำเราอย่างมาก เพราะค่าใช้จ่ายของใช้รถหลักๆ ก็เป็นค่าน้ำมันนี่ล่ะ เพราะฉะนั้นมีเหตุผลอะไรที่คุณไม่จะติดตามราคาน้ำมันรถ และนอกจากดูเรื่องราคาแล้ว ก็อย่าลืมเช็คให้แน่ใจว่าประเภทของน้ำมันที่ใช้อยู่นั้นเหมาะสมกับรถของเราด้วย

10. ทำประกันและเสียภาษีไว้อุ่นใจกว่า
     รถทุกคันจำเป็นต้องมีประกันรถยนต์ตาม พรบ.เพื่อนำไปเสียภาษี ดังนั้น เราต้องหมั่นตรวจเช็คเสมอว่ารถของเรา ประกันหมดอายุแล้วหรือยัง หรือเสียภาษีตามกำหนดหรือไม่ หากเกิดอุบัติเหตุ จะได้มีประกันในการบรรเทาความเดือดร้อนให้เราได้และไม่ทำผิดกฎหมายจราจรด้วย

Ref. https://www.sanook.com/auto/57277/

การดูแลรักษาสีรถ

สีรถยนต์ก็เปรียบเสมือนสีเสื้อผ้า หากเราชอบแต่งตัวสวยๆ เท่ๆ ให้ดูดี ไร้จุดด่าง ไม่มีรอยหมองอย่างไร เราก็ย่อมอยากให้รถของเรามีความงดงามอย่างนั้น และการดูแลสีรถยนต์ให้สวยเสมอไม่จำเป็นต้องเข้าร้านคาร์แคร์เสมอไป แค่เพียงต้องเพิ่มความใส่ใจในการดูแลสีรถยนต์ของเจ้าของรถก็เพียงพอแล้ว วันนี้ Carsome มี 4 วิธีดูแลสีรถยนต์ให้สวย เงางาม ดูใหม่เสมอ เป็นวิธีที่ง่าย ไม่ได้ยากอย่างที่หลายคิด

1.ล้างรถเป็นประจำๆ

การดูแลรักษาสีรถยนต์

การล้างรถบ่อยๆ เป็นวิธีที่ดีและง่ายที่สุดในการรักษาสีรถยนต์ เพียงเริ่มใช้น้ำเปล่าล้างให้ทั่วรถก่อน 1 รอบ เพื่อขจัดฝุ่นต่างๆ ที่เกาะตัวรถอยู่ จากนั้นใช้สบู่หรือแชมพูล้างรถที่ได้มาตรฐาน พร้อมกับใช้ฟองน้ำถูกเป็นแนวตรง หลีกเลี่ยงการถูเป็นวงกลมเพราะสิ่งสกปรกบนพื้นผิวอาจจะติดวนกลับมาขีดเขี่ยนบอดี้รถได้ พอใช้ฟองน้ำถูตามส่วนต่างๆ ของรถจนครบแล้ว ให้ล้างคราบโฟมและสิ่งสกปรกต่างๆ ออกด้วยน้ำเปล่า

ส่วนขั้นตอนต่อไป “การเช็ดรถให้แห้ง” ก็สำคัญกับสีรถเช่นกัน เพราะการปล่อยให้รถผึ่งลมจนแห้งเองจะทำให้เกิดคราบน้ำ และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ในส่วนประกอบของน้ำ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหนก็ตาม มักมีแร่ธาตุผสมอยู่ ซึ่งมีผลให้สีเสียหายได้ในระยะยาว การทำให้รถแห้งจึงควรใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์เช็ดตามพื้นผิวให้แห้งจะดีที่สุด

2.ลงแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบสี

การดูแลรักษาสีรถยนต์

การแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบสีจะเป็นการเคลือบพื้นผิวของรถ ช่วยสร้างชั้นป้องกันให้รถจากคราบสกปรก มลภาวะต่างๆ น้ำและสารเคมีอื่นๆ โดยแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบสีก็ช่วยในการปกปิดริ้วรอยหรือจุดด่างดำขนาดเล็กๆ ได้ด้วย โดยการลงแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบสีเหล่านี้ต้องทำตามคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด เพราะแต่ละผลิตภัณฑ์มีการออกแบบ วิจัย ที่ไม่เหมือนกัน จึงมีวิธีดึงประสิทธิภาพสูงสุดออกมาใช้ที่แตกต่างกัน

วิธีการลงแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบสีรถเพื่อดูแลรักษาสีรถยนต์ เบื้องต้น มีดังนี้

1. ล้างรถให้สะอาดพร้อมเช็ดให้แห้งก่อนเสมอ

2. ลงแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบสีบนฟองน้ำเพียงเล็กน้อย ไม่ควรใช้เยอะในคราวเดียว เพื่อป้องกันการทิ้งคราบบนตัวถังรถ

3. ลงแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบลงบนตัวรถเป็นส่วนๆ เพราะการลงแว็กซ์ทีเดียวรอบตัวรถ จะทำให้แว็กซ์สัมผัสอากาศ ทำให้เกิดการแข็งตัว และทำให้ประสิทธิภาพลดลง รวมไปถึงทำให้เกลี่ยยากขึ้นอีกด้วย

4. ถูแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบบนพื้นผิวตัวรถในทิศทางแบบหมุนวน ไม่ถูเป็นแนวยาว เพราะการถูเป็นวงกลมจะเกลี่ยแว็กซ์ได้ทั่วถึงกว่าในจุดที่ลง

5. เมื่อแว็กซ์หรือน้ำยาเคลือบแห้งแล้ว ให้ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์, ผ้าชามัวร์ หรือผ้าเนื้อนิ่มอื่นๆ ในการเช็ดแว็กซ์หรือน้ำยาส่วนเกินออก

3.หลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดด

การดูแลรักษาสีรถยนต์

เพราะรังสี UV ไม่เพียงเป็นอันตรายต่อผิวหนังของสิ่งมีชีวิต แต่กับสีรถยนต์เองก็เช่นกัน แสงอาทิตยก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซ์กับสีรถ ส่งผลให้สีรถซีดลง ดูเก่ากว่าสภาพความเป็นจริง นอกจากนี้ความร้อนจะมีผลกับภายในของรถยนต์อีกด้วย โดยเฉพาะวัสดุที่หุ้มคอนโซลรถและชิ้นส่วนที่เป็นหนัง หากตากแดดนานๆ ชิ้นส่วนเหล่านี้จะแห้ง แตก หากเป็นไปได้ควรจอดในที่มีร่มเงา เพียงเท่านี้ก็เพียงพอต่อการรักษาอายุสีรถและสภาพภายในได้อีกนาน

4. เข้าอู่ทำสีรถยนต์เมื่อสีโดยรวมของตัวรถ เริ่มไม่เหมือนเก่า

การดูแลรักษาสีรถยนต์

หลังจากใช้งานรถยนต์มาได้ระยะเวลาหนึ่ง การเข้าอู่ทำสีก็เป็นเรื่องจำเป็นเหมือนกัน เพราะตัวถังรถยนต์อาจมีรอยขีดข่วน คราบต่างๆ ที่ต้องให้ช่างเฉพาะทางปรับสภาพ เพื่อฟื้นคืนสภาพภายนอก ให้ดูดีใกล้เคียงกับตอนออกจากศูนย์หรือโชว์รูมมากที่สุด

การดูแลสีรถให้ดูดี ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างลุคที่ดูดี สะท้อนถึงความใส่ใจให้เจ้าของรถแล้ว ก็มีผลให้เจ้าของรถรู้สึกดีทุกครั้งที่มองเช่นกัน นอกจากความสุขทางใจที่เจ้าของจะได้รับแล้วนั้น สีของรถยนต์ที่ได้รับการดูแลอย่างดียังส่งผลถึงราคาประเมิน หากเจ้าของรถต้องการขายรถอีกด้วย

Ref. https://www.carsome.co.th/news/item/4-วิธีการดูแลสีรถยนต์ให้

ขั้นตอนในการทำสีรถ

ในการทำสีรถยนต์นั้น ถ้าจะให้ได้งานที่มีคุณภาพ นอกจากต้องใช้สีที่มีคุณภาพสูงแล้ว ขั้นตอนการพ่นสีก็ต้องพิธีพิถันและปราณีตด้วย ต้องระมัดระวังทั้งเรื่องความสะอาด อุณหภูมิ เวลาที่ใช้ในการพ่น และ รายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ซึ่ช่างที่ชำนาญการและมีความใส่ใจในการพ่นจะให้ความสำคัญในทุกๆ ขั้นตอน
ซึ่งขั้นตอนของการพ่นสีรถยนต์ คือ 

     1. ทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณที่เป็นแผลด้วยน้ำยาทำความสะอาด เพื่อเก็บครบไขมันและสิ่งตกค้าง
     2. 
เปิดปากแผลด้วยเครื่องขัดหัวกลม
     3. 
ใช้ปื่นเป่าลมทำความสะอาดชิ้นงานและเช็ดด้วยน้ำยา
     4. 
โป้วสีลงบนชิ้นงานตามสภาพความเสียหาย ประมาณ 3-4 เที่ยว เพื่อสีโป้วเกาะติดกับชิ้นงาน
     5. 
อบสีโป้วด้วยเครื่องอบอินฟาเรด ระยะห่างจากชิ้นงาน 60 – 70 cm. ใช้เวลา 5 นาที ที่ความร้อน 70 – 80 Cและปล่อยให้แห้งที่อุณหภูมิทั่วไป รอสีโป้วเย็นตัวลง 5 นาที
     6. 
ขัดเปิดหน้าสีโป้วและปรับสีผิวสีโป้วให้เรียบเสมอชิ้นงาน และทำความสะอาดพื้นผิวที่ขัด
     7. 
พ่นสีรองพื้น 2-3 เที่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้สีพื้นซึม โดยแต่ละเที่ยวต้องทิ้งช่วง 2-3 นาที
     8. 
อบสีรองพื้นในห้องอบโดยใช้เวลา 12 นาที
     9. 
ขัดหน้าเปิดสีรองพื้น และตรวจสอบความเรียบ
    10. 
ใช้ปืนเป่าลมทำความสะอาด และเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยา
    11. 
ใช้แสงไป Day Light ความสว่าง 1500 Lux ตรวจความเรียบของชิ้นงานก่อนส่งพ่นสีจริง
    12. พ่นสีจริงเที่ยวแรก โดยให้กลบชิ้นงานก่อน 50 – 70%
    13. 
พ่นสีจริงเที่ยวที่สอง โดยให้กลบชิ้นงาน 100% ทิ้งระยะ ก่อนจะพ่นสีจริงครั้งสุดท้าย
    14. 
ตรวจสอบดฉดสีที่ได้ว่าตรงกับสีที่ต้องการ
    15. 
อบแห้ง ที่อุณหภูมิ 60 C เป็นเวลา 30 นาที หรืออบอินฟาเรด 10 นาที
    16. พ่นสีเคลียกลบชิ้นงาน 2 เที่ยว
    17. 
รอให้ชิ้นงานเย็นตัวก่อนนำออกจากห้องพ่น ขัดแต่งด้วยน้ำยาขัดเงา
    18. ตรวจสอบงานก่อนส่งมอ

Ref. http://www.puremindinsurance.com/content-เทคนิคการซ่อมรถการทำสีรถขั้นตอนในการทำสีรถ-4-1611-26495-1.html

ความรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์

ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์
ทำไมต้องจ่ายค่าซ่อมรถ ช่วยบริษัทประกันภัย ใครรู้ช่วยบอกที [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
ข้อควรปฎิบัติเมื่อรถน้ำท่วม ว่าเคลมประกันอย่างไร ให้ได้รับชดใช้ [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
ประกันภัยรถยนต์ ทำไมบริษัทประกันภัยปฎิเสธถ้ารถเสียจากการขับรถไปลุยรถน้ำท่วม [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
ประกันภัยรถยนต์ ตารางเปรียบเทียบการประกัน ป1 ป2 ป2+ ป3 ป3+ [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
ประกันภัยรถยนต์ การเคลมประกัน รถยนต์สูญหายเคลมประกันอย่างไร [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
ประกันภัยรถยนต์ การเคลมประกัน รถเสียหายหนักต้องคืนซาก คืนทุนประกันภัย [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
เทคนิคการซ่อมรถ ต้องการเปลี่ยนอะไหล่ ข้อแตกต่างระหว่างอะไหล่แท้กับอะไหล่เทียม [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
เทคนิคการซ่อมรถ ต้องการเปลี่ยนอะไหล่ ประกันภัยกับการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
เทคนิคการซ่อมรถ รถบุบต้องเคาะแผล ขั้นตอนการซ่อมแผลบุบ [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
เทคนิคการซ่อมรถ รถบุบต้องเคาะแผล แผลรถบุบกับการประกันภัย [20 สิงหาคม 2554 21:39 น.]
ดูทั้งหมด